ติดต่อโทร.0-4400-9009

แฟกซ์.0-4424-4739

Module 3 : ปฏิบัติการฝึกลมปราณ


เก็บมาฝากจากครูแจ๋วแหวว  (ฝึกลมปราณ)

“รู้จักคำว่าเหนื่อยไหม”
“คุณครูไฮเปอร์  ผู้อยู่นิ่งไม่เป็น”  
เป็นฉายาที่ได้รับจาก  ลูกศิษย์  มานานนับ  40  ปี

คำตอบทำอย่างไร :    ครูแจ๋วแหวว  ปฏิบัติจนเป็นนิสัย  เกิดเป็นนาฬิกาชีวิต   มีวิธีง่ายๆ ใช้นาฬิกา หรือใช้มือถือ จับเวลา  ในทุก 1 นาที
ขั้นที่ 1 : หายใจออก    ปล่อยลมหายใจออกยาวๆ  นับ 1 ถึง 5 ออกเสียงดัง (บริหารกล้ามเนื้อกล่องเสียง) สังเกตท้องแฟบ  ไล่กาซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ร่างกายไม่ต้องการออก เป็นการหายใจออก
ขั้นที่ 2 : หายใจเข้า    จากนั้นสูดลมหายใจเข้าลึกๆ  กลั้นไว้นานๆ โดยนับ 1 ถึง 10 สังเกตท้องป่อง เป็นการสูดกาซออกซิเจน ไว้ให้นาน (การหายใจเข้า) ครบรอบ 1 ครั้ง แล้วเริ่มขั้นที่ 1 ใหม่ ไปเรื่อยๆ ลองทำ 1 นาที จะได้จำนวนครั้งของตัวเรา แต่ละคนนับจำนวนครั้ง/นาทีไม่เท่ากัน 

     สำหรับครูแจ๋วแหวว อายุวัย 6 รอบ ใน 1 นาที นับจำนวนได้ 5 ครั้ง ปฏิบัติให้ได้สัก 10 นาที จะได้ 50 ครั้ง ขึ้นอยู่กับวัยแต่ละคน วันหนึ่งๆ ทำได้หลายครั้ง ตามความเหมาะสมให้ได้ 100 ครั้ง ถ้าทำได้จำนวนมากครั้งจะดีมาก เราจะรู้สึกมีแรงหรือมีพลัง ไม่เหนื่อย สดชื่น 
(ตื่นเช้า เริ่มทำ 10 นาที ทุกวัน ทุกครั้ง ที่พักเบรกจากการทำงาน ให้ปฏิบัติสัก 5 นาที เป็นการเพิ่มพลังตลอดเวลา จะไม่มีคำว่าเหนื่อย)  
     เหตุผล : พอสรุปง่ายๆ โดยใช้วิชาการวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ทุกคนเรียนมาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลาง  ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 กำหนดให้ทุกคนเรียนรู้ และควรนำไปใช้ในชีวิตจริง
     หลักการทางวิทยาศาสตร์ การหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) เป็นปฏิกิริยา การหายใจ ซึ่งเกิดที่เซลล์ทุกเซลล์ เริ่มจากอาหารที่รับประทาน  ได้แก่ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน (กรดอะมิโน)  และไขมัน   ถูกเผาผลาญ ด้วยกาซออกซิเจน ที่หายใจเข้า ทำปฏิกิริยาเคมี เกิดเป็นกาซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และพลังงานสะสมในรูป ATP (ทำให้มีแรง ไม่เหนื่อย สดชื่น)

สิ่งที่ควรทราบ
- อาหาร    :  อาหารที่เซลล์สัตว์ และพืช ใช้ในการหายใจมีน้ำตาล  โปรตีน  (กรดอะมิโน)   และไขมัน
- กะบังลม  (Diaphragm) : เป็นแผ่นกล้ามเนื้อขึงอยู่ด้านล่างของซี่โครง  ใต้ราวนม กั้นระหว่างช่องอก (ประกอบด้วย หัวใจ ปอด ซี่โครง) และช่องท้อง ทำหน้าที่สำคัญในการหายใจ ช่วยให้ทรวงอกยกตัวขึ้น พื้นที่ทรวงอกกว้าง ปอดขยายเพื่อรับกาซออกซิเจน เป็นการหายใจเข้า  ขณะเดียวกัน กะบังลมยุบตัวลง พื้นที่ช่วงอกลดลง เพื่อไล่กาซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนในปอด ปล่อยออก ทำให้ปอดยุบตัวลง เป็นการหายใจออก
- แอดีโนซีนไตรฟอสเฟต (เอทีพี) (adenosine triphosphate (ATP)) : เป็นสารประกอบที่สลายตัวให้พลังงานสูงชนิดหนึ่ง
- การหายใจ (Respiratory) : เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนกาซ O2 กับ CO2 (หายใจภายใน) ที่เซลล์ และปอด (หายใจภายนอก)          


(ที่มา : วิกิพีเดีย  สารานุกรมเสรี)

     การฝึกหายใจเข้าออกสม่ำเสมอทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมแข็งแรง  ถ้าหายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้นานๆ จะดีมาก ทำให้ทุกเซลล์ได้รับก๊าซออกซิเจนเพียงพอ เกิดพลังงานสะสม ทำให้สดชื่น มีพลัง ไม่เหนื่อย เกิดภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ เช่น ไม่รับเชื้อไวรัสง่าย  

เก็บมาฝากสำหรับครูและผู้เรียน   

มาทำปอดจำลองกันเถอะ

ประโยชน์
      1. ได้กำไรชีวิต ไม่ต้องซื้อ  แต่ต้องมี วินัย  ปฏิบัติให้ได้เป็น  นาฬิกาชีวิต
      2. เป็นการฝึก  สมาธิ  ทำให้เกิด สติ  และ  ปล่อยวาง  สมองมา  ปัญญาเกิด  แก้ปัญหาได้ 
      3. ได้พลังงานที่ไม่รู้จักหมด แต่ต้องหมั่นชาร์ทแบตเตอรีเอง ทำให้สดชื่นทันที ไม่มีคำว่าเหนื่อย ผิวสวยมีภูมิคุ้มกัน

    ทุกสิ่งที่เก็บมาฝากครูแจ๋วแหวว ปฏิบัติเป็นประจำ สิ่งที่ฝาก เป็นเพียงส่วนหนึ่งใน 6 อ. ของครูแจ๋วแหวว ครั้งนี้ได้ใช้เพียง 2 อ เท่านั้นคือ อ1 : อากาศ และ อ.2 : ออกกำลังกาย ที่ปอด สำคัญมาก เราขาดอากาศไม่ได้ ไม่ควรเกิน 3 ชั่วโมง มิเช่นนั้น อัมพฤกษ์ อัมพาตจะถามหาจ๊ะ ยังเหลืออีกหลาย อ. นะจ๊ะ ถ้าเราจะช่วยคนอื่น ต้องทำตนเองให้เป็นแม่แบบก่อน ครั้งนี้ตอบโจทย์ได้แล้วนะว่า ครูแจ๋วแหวว รู้จักคำว่าเหนื่อยไหม อย่าลืมฝึกลมหายใจเข้าออก  เรียกว่า  ฝึกลมปราณทุกวัน  พบกันอีกในโอกาสต่อไปค่ะ 
 

เอกสารอ้างอิง

พันธุ์ทิพย์ ทิมสุกใส. ปฏิบัติการฝึกลมปราณ. 2563.
พันธุ์ทิพย์ ทิมสุกใส. มาทำปอดจำลองกันเถอะ. 2563.
https://th.wikipedia.org/wiki/การหายใจระดับเซลล์
https://thaihealthlife.com/กระบังลม/
https://bodysystemsbykrupimnucha.wordpress.com/2017/05/05/ระบบหายใจของมนุษย์/
https://www.slideserve.com/maleah/2015910