การจำลองการกลายเป็นหินของซากดึกดำบรรพ์
จุดประสงค์ ผู้เรียนเข้าใจขั้นตอนการกลายเป็นหินของซากดึกดำบรรพ์
อุปกรณ์และสารเคมีสำหรับการสาธิต
1. บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. แท่งแก้วคนหรือไม้ไอศกรีม
3. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมตะแกรงและที่กั้นลม
4. ไม้ขีดไฟ
5. รังบวบหรือเปลือกไม้แห้ง ( แทนซากดึกดำบรรพ์ )
6. ด้าย
7. ช้อนตักสารเบอร์ 2
8. น้ำกลั่น
9. จุนสี ( CuSO4 . 5H2O)
ขั้นตอนการทดลอง
1. เตรียมรังบวบหรือเปลือกไม้ ( แทนซากดึกดำบรรพ์ )
2. เตรียมจุนสี ( แทนแร่ธาตุที่อยู่ในดิน )
3. เตรียมสารละลายจุนสีอิ่มตัวยวดยิ่ง ( แทนแหล่งน้ำที่ละลายแร่ธาตุที่อยู่ในดิน )
น้ำกลั่น 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร + จุนสี
เติมจุนสีคนจนกระทั่งไม่ละลาย ( ส่วนที่ไม่ละลายคือส่วนเกิน ) นำไปตั้งไฟจนกระทั่งละลายหมดแล้วยกลง
4. ตัดรังบวบให้มีขนาดพอประมาณ ผูกด้ายกับรังบวบและไม้หรือแท่งแก้วคน
นำไปแช่ในสารละลายทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
5. ผลึกของสารละลายจุนสีที่แทรกตัวอยู่ในช่องว่างของรังบวบหรือเปลือกไม้ซึ่งเป็นตัวแทนของซากดึกดำบรรพ์ การกลายเป็นหินของซากดึกดำบรรพ์ เกิดเนื่องจากมีแร่ธาตุต่าง ๆ เข้าไปแทนที่เนื้อเยื่อของซากดึกดำบรรพ์ โดยเข้าไปในรูปของสารละลายอิ่มตัวแล้วเกิดการตกผลึกอยู่ภายใน และสีของผลึกขึ้นอยู่กับชนิดของแร่ธาตุ
แหล่งที่มา : พันธุ์ทิพย์ ทิมสุกใส มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2548