ติดต่อโทร.0-4400-9009

แฟกซ์.0-4424-4739

Module 5 : ปฏิบัติการเกิดหิมะ - แม่คะนิ้ง


อุปกรณ์และสารเคมี
    น้ำแข็ง    หลอดทดลอง    น้ำกลั่น    ใบหญ้าหรือใบพืชอื่น ๆ    กระบอกฉีดน้ำ
      เทอร์มอมิเตอร์    เกลือแกง    บีกเกอร์หรือแก้วน้ำ    ช้อนตักสาร    

 

วิธีการทดลอง

ตอนที่ 1
เติมน้ำกลั่นลงในบีกเกอร์ประมาณ 100 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร เติมเกลือแกงลงไปประมา 2 ช้อน สังเกตพร้อมบันทึกผลการทดลอง
ตอนที่  2
     1. นำหลอดทดลองมา  1  หลอด  ใส่ต้นไม้เล็กหรือต้นหญ้าลงไปในหลอดทดลอง
     2. ฉีดน้ำให้เป็นฝอยลงบนต้นไม้หรือต้นหญ้าในหลอดทดลอง
     3. นำหลอดทดลองในข้อ  2  ไปแช่ในบีกเกอร์ที่มีน้ำแข็งและน้ำอยู่ด้วย
     4. โรยเกลือลงบนน้ำแข็งในบีกเกอร์  สังเกตและบันทึกผลการทดลอง

ผลการทดลอง
..................................................................................................

คำถาม
     1. การละลายของเกลือในน้ำตอนที่ 1 ใช้อธิบายการเกิดแม่คะนิ้งได้อย่างไร
     2. จงเปรียบเทียบผลของหญ้าเมื่อเติมเกลือลงในบีกเกอร์  
     3. เกิดอะไรขึ้นที่ผิวนอกของบีกเกอร์  
     4. ถ้าใช้น้ำตาลแทนเกลือจำให้ผลอย่างไร  

เหตุผล
     เนื่องจากเกลือแกงต้องการละลายตัวเอง  จึงต้องใช้ความร้อนในการช่วยละลาย  เกลือแกงจึงทำการดูดความร้อนในการช่วยละลาย เกลือแกงจึงทำการดูดความร้อนจากรอบนอกหรือสิ่งแวดล้อมเข้าไป ทำให้อุณหภูมิรอบนอกบีกเกอร์ลดลง  สังเกตได้ว่าถ้าสัมผัสที่รอบนอกบีกเกอร์จะรู้สึกเย็น (เฉลยตอนที่ 1) กรณีที่มีน้ำแข็งแล้วเติมเกลือลงไปทำให้เย็นจนถึงจุดเยือกแข็ง  ดังนั้นหยดน้ำที่เกาะอยู่บนใบหญ้าจึงกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง  เรียกว่า  “แม่คะนิ้ง”  ภาคเหนือเรียกว่า  “เหมยขาบ”  และเช่นเดียวกับรอบนอกบีกเกอร์จะเกิดน้ำแข็งเกาะที่ผิวด้วย
     นอกจากนั้นยังนำหลักการนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น นำไปทำไอศกรีมรูปแบบต่างๆ         ดังตัวอย่าง

 

แหล่งที่มา :  พันธุ์ทิพย์  ทิมสุกใส   มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา